ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

ทิศทางและกลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยโตก

วิสัยทัศน์ (VISION)

โรงเรียนบ้านห้วยโตก จะจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

ปรัชญา

เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำสังคม

พันธกิจ ( MISSION )

1. พัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพ

2. พัฒนาการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย

3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น

4. จัดระบบการบริหารโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม

5. ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

6. ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้เรื่องประชาคมอาเซียน


ป้าประสงค์

1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยี

2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มศักยภาพ

4. พัฒนาครูและบุคลาการทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชน

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

"ความขยัน"

มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยโตก

โรงเรียนบ้านห้วยโตกได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาโดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาจำนวน 3 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู

2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก